วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553

ปะการังเทียม


          เมื่อเอ่ยถึงคำว่า ปะการัง เชื่อแน่ว่าหลายคนคงเคยได้ยิน หรือเคยเห็นมาแล้วทั้งจากหนังสือเรียน นิตยสารท่องเที่ยว หรือรายการสารคดี ทางโทรทัศน์ ในขณะที่หลายคนอาจมีโอกาส ได้ดำน้ำลงไปสัมผัสอย่างใกล้ชิดที่ใต้ทะเลมาแล้ว
           แต่หากเอ่ยคำว่า ปะการังเทียม อาจทำให้หลายคนแสดงอาการเอา หัวคิ้วมาชนกันด้วย ความสงสัยและมีคำถาม ออกมาว่า มันเป็นยังไงเหรอ เจ้าปะการังเทียมเนี่ย? ต่างจากปะการังแท้อย่างไร

            ปะการังเทียมเป็นวัตกรรมอย่างหนึ่งที่ถูกคิดค้นขึ้นมาทดแทนปะการังแท้ที่กำลังถูกคุกคามอย่างหนัก หลายท่านอาจไม่ทราบว่าในความเป็นจริงประเทศไทยเป็นประเทศที่มีทรัพยากรทางทะเลที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดประเทศหนึ่ง
ในทวีปเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งปะการัง ที่มีอยู่ทั้งฝั่งอ่าวไทยและฝั่งทะเลด้านอันดามัน โดยแนวปะการังในอ่าวไทยส่วน
ใหญ่จะพบตามเกาะต่างๆ และบริเวณชายฝั่งบางแห่งตั้งแต่บริเวณหมู่เกาะสีชัง จังหวัดชลบุรีเรื่อยลงมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
บริเวณเกาะเต่า จังหวัดสุราษฏร์ธานี มีการก่อตัวของแนวปะการังระดับน้ำลึกประมาณ 15 เมตร


            จากการสำรวจและประเมินพื้นที่แนวปะการัง พบว่าในฝั่งอ่าวไทยมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 74.9 ตารางกิโลเมตร
ในส่วนของทะเลด้านอันดามันส่วนใหญ่จะพบตามชายฝั่งด้านตะวันออกของเกาะ พื้นที่แนวปะการังพบว่ามีประมาณ
78 ตารางกิโลเมตร
            สถานการณ์ของปะการังในปัจจุบันพบว่ามีความเสื่อมโทรมลงอย่างมาก จากการสำรวจของกรมประมงพบว่า
แนวปะการังฝั่งอันดามันเสื่อมโทรมลงเกือบ 50% ในขณะที่ฝั่งอ่าวไทยเสื่อมโทรมลง 24%

             สาเหตุส่วนใหญ่ก็เป็นผลเนื่องมาจากภัยธรรมชาติ และกิจกรรมของมนุษย์ แนวปะการังหลายแห่งเสียหายเพราะพายุ จากการที่โลกร้อนขึ้นทำให้อุณหภูมิน้ำทะเลสูงขึ้น จนเกิดปรากฏการณ์ฟอกขาว(coral bleaching) เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีสาเหตุมาจากกิจกรรมต่างๆของมนุษย์ ได้แก่การท่องเที่ยวนำชมปะการัง การทำปะมงด้วยเครื่องมือผิดประเภท

 การทำปะการังเทียม ไม่ว่าจะจากวัสดุประเภทใด : ยางรถยนต์ บล๊อกคอนกรีต ท่อคอนกรีต เรือ รถไฟ รถยนต์ เครื่องบิน ฯลฯ เป็นเรื่องที่มีค่าใช้จ่ายสูง ไม่ว่าจะเป็นค่าวัสดุ ค่าขนส่ง และค่าใช้จ่ายอื่นๆอีกจิปาถะ ซึ่งถ้าเป็นหน่วยงานของรัฐก็จะต้องได้รับอนุมัติงบประมาณมาก่อน ถ้าเป็นเอกชนจัดทำ ก็ต้องเป็นหน่วยงานที่ค่อนข้างใหญ่ มีเงินแยะๆ คงจะเกินความสามารถของนักดำน้ำตาดำๆอย่างเราที่จะควักกระเป๋ากันเองมาเป็น ค่าใช้จ่ายครับ



การ วางปะการังเทียม ไม่ว่าจะเป็นในจุดไหนๆในประเทศไทย จะต้องขออนุญาตจากหลายหน่วยงาน ซึ่งประกอบด้วย กรมประมง - กระทรวงเกษตรฯ,สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรฯ, กรมเจ้าท่า - กระทรวงคมนาคม และกองทัพเรือ ซึ่งหน่วยงานดังกล่าวจะเป็นผู้พิจารณาถึงความเหมาะสมของโครงการ ที่ตั้ง วัสดุที่จะใช้ รวมถึงผลการศึกษาถึงผลกระทบที่จะมีต่อระบบนิเวศทางทะเลและสภาพแวดล้อม

ภาพติดตามผลการวางปะการังเทียม


สภาพกองปะการังเทียมที่เพิ่งถูกทิ้งลงใต้ทะเล

ลักษณะความเปลี่ยนแปลงบริเวณกองปะการังเทียม
หลังจากทิ้งเพียงไม่กี่เดือน


ฝูงปลาพากันเข้ามาหลบอาศัยบริเวณกองปะการังเทียม

สภาพกองปะการังเทียมที่ผูกมัดรวมกันเป็นกอง

ฝูงปลาอมไข่ (cardinal fish) บริเวณกองปะการังเทียม

ปลากะพงเหลืองขมิ้น (olives striped snapper)
จัดเป็นปลาเศรษฐกิจสำคัญชนิดหนึ่ง
ที่เข้ามาอาศัยอยู่บริเวณกองปะการังเทียม

สภาพทั่วไปภายในวงรถยนต์ที่มัดรวมกันด้วยเชือก พบสิ่งมีชีวิตเกาะ
ติดอยู่ค่อนข้างหนาแน่น เช่น เพรียงหิน หอยนางรม เพรียงหัวหอม

ภาพดอกไม้ทะเลเกาะกองปะการังเทียม

เพรียงหัวหอมแบบกลุ่ม เกาะบนกองปะการังเทียม
ส่วนที่เห็นเป็นต้น ลักษณะเป็นเส้นยาวๆ คือ
ขนนกทะเล เป็นสัตว์ที่มีพิษ ถ้าสัมผัสจะรู้สึกเจ็บปวด

เพรียงหัวหอมกลุ่มสีเหลืองเป็นสิ่งมีชีวิตที่ดำรงชีวิต
แบบเคลือบวัตถุใต้น้ำในภาพหุ้มกองปะการังเทียมไว้ 

ภาพสิ่งมีชีวิตเกาะติดชนิดต่างๆ ที่ดำรงชีวิตแบบเกาะติด
(sessile animals)ได้แก่ ไบโอซัว เพรียงหิน หอยนางรม
หนอนปล้องที่สร้างปลอกหินปูนในภาพที่เห็นเป็นเส้นสีขาวๆ คือ ไบโอซัว

สาหร่ายเห็ดหูหนูเป็นสาหร่ายสีน้ำตาลชนิดหนึ่งเกาะอยู่บนยางรถยนต์ 

แม่นดำหนามยาว (blackseaurchin) เกาะบนปะการังเทียมที่มี
ตะกอนปกคลุม คาดว่ากำลังดูดกินสาหร่ายเป็นอาหาร เป็นการเปิด
พื้นที่ให้สิ่งมีชีวิตที่ดำรงชีวิตแบบเกาะติดลงเกาะเพื่อเจริญเติบโตต่อไป

ภาพฟองน้ำหนามสีขาว (sping sponge) ที่เกาะอยู่บนกองปะการังเทียม

ภาพยางรถยนต์จม มีฟองน้ำสีส้มและสีดำ (sponge)
ปลิงทะเล (sea cucumber)เกาะอยู่และหาอาหารบริเวณปะการังเทียม
  

ภาพปะการังแหวน (favild coral ) สีเทาและขาวบนกองปะการังเทียม

ปลิงทะเลหนวดต้นไม้

ขนนกทะเล ( stinging hydriods ) จัดเป็นสัตว์ทะเลชนิดหนึ่ง

หนอนปล้อง จัดอยู่ในกลุ่มไส้เดือนทะเล (polychaeta)
ที่สามารถสร้างหินปูนได้และแตกหน่อคล้ายต้นไม้
ส่วนตอนบนของภาพที่มีลักษณะเป็นสีขาวจัดเป็นสัตว์ในกลุ่ม
เพรียงหัวหอม (ascidiaus)
ที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม
 

สัตว์จำพวกไบโอซัว (bryozoa) ที่พบบริเวณกองปะการังเทียม 
ขอบคุณบทความและรูปภาพจาก http://sawasdee.bu.ac.th/env/reefs.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น