อนุรักษ์ปะการัง และโลกใต้ทะเลที่สวยงาม
อนุรักษ์ปะการัง และโลกใต้ทะเลที่สวยงาม
วันอังคารที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2553
ฝูงบินปะการังเทียมเพื่อโลกใต้ทะเล
รถบรรทุกเครื่องบิน ไปยังจ.ภูเก็ต
“เครื่องบิน”
ที่เหินเวหาถลาร่อนลมอยู่บนท้องฟ้า และ
“ปะการัง”
สัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลัง ที่อาศัยอยู่ใต้ท้องน้ำอันกว้างใหญ่ ทั้งสองสิ่งนี้ดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่ไม่มีทางบรรจบพบเจอกันได้ (ยกเว้นว่าเครื่องบินจะดิ่งตกสู่ท้องทะเลเอง) แต่ก็มีกลุ่มคนที่อาจหาญเอาเครื่องบินลำใหญ่ไปทิ้งทะเล ด้วยความตั้งใจและหวังว่าจะช่วยฟื้นฟูซ่อมแซมแนวปะการังที่เสียหายจากคลื่น ยักษ์สึนามิให้ฟื้นคืนกลับมา
จมเครื่องบิน
เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2551 ที่ผ่านมา ณ กองบิน2 จังหวัดลพบุรี ได้มีพิธีบวงสรวงและเคลื่อนย้ายเครื่องบินขึ้นรถโดยใช้รถเทรลเลอร์ในการขน ย้ายเครื่องบินจากจังหวัดลพบุรี เพื่อออกเดินทางมุ่งหน้าสู่ที่หมายที่ จังหวัดภูเก็ต เพื่อทำการจมเครื่องบินจำนวนทั้งสิ้น 10 เครื่อง ตามโครงการ
“ฝูง บินปะการังเพื่อทะเล”
โดยเครื่องบินทั้ง 10 เครื่องนี้จะถูกจมในพื้นที่ที่ถูกจัดวางบริเวณอ่าวบางเทา ตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง จ.ภูเก็ต ซึ่งเป็นพื้นที่ทรายโล่ง ห่างจากชายฝั่งประมาณ 1 กิโลเมตร มีระดับน้ำลึกประมาณ 15-20 เมตร เพื่อเป็นปะการังเทียมต่อไป
ตัวอย่างของเครื่อง บินที่อยู่ใต้น้ำ
วิทเยนทร์ มุตตามระ
กรรมการและเลขานุการมูลนิธิเพื่อทะเล หนึ่งในกลุ่มคนผู้จุดประกายโครงการฝูงบินปะการังเพื่อทะเล บอกเล่าถึงโครงการฝูงบินปะการังเพื่อทะเลว่า จากการที่มูลนิธิเพื่อทะเลและอาสาสมัครนักดำน้ำกว่า 50 ชีวิต เคยร่วมงานอาสากับมูลนิธิฯในการออกซ่อมแนวปะการัง ที่ได้รับผลกระทบจากคลื่นยักษ์สึนามิเห็นว่า
นอกจากแนวปะการังธรรมชาติได้รับผลกระทบจากคลื่นยักษ์สึนามิและแนว ปะการังธรรมชาติเหล่านั้น ยังได้รับความเสียหายทรุดโทรมด้วยน้ำมือมนุษย์ ทั้งทางตรงและทางอ้อม วิกฤติการณ์โลกร้อน ภาวะเอลนินโย่ หรือปรากฏการลานีญา ล้วนมีผลต่อการเสื่อมโทรมของแนวปะการังทั้งสิ้น
ดังนั้นมูลนิธิเพื่อทะเลจึงริเริ่มแนวคิดที่จะสร้างแนวปะการังเทียม และเห็นว่าควรเป็นแนวปะการังเทียมที่จะต้องได้รับความสนใจจากบุคคลทั่วไปได้ มากพอ ที่จะสามารถช่วยแบ่งเบาจำนวนนักท่องเที่ยวและนักดำน้ำที่ไปดำน้ำในจุดดำน้ำ ธรรมชาติให้น้อยลงไปได้ และยังจะเป็นการเสริมสร้างระบบนิเวศวิทยาทางทะเล
“สาเหตุที่เราเลือกใช้เครื่องบินที่ปลดประจำการแล้วในการทำแนว
ปะการังเทียม
เพราะด้วยวัสดุที่เป็นอลูมิเนียมมีความทนทานต่อการถูกกัดกร่อน รูปทรงของเครื่องบินที่ไม่เป็นอุปสรรคต่อกระแสน้ำ จึงได้มีการพูดคุยและประสานงานกับกองทัพอากาศเพื่อของนำเครื่องบินที่ไม่ใช้ แล้วกลับทำประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติอีกครั้งหนึ่ง”วิทเยนทร์กล่าว
สู่โลกใต้ท้องทะเลไป กับเครื่องบิน
เขายังกล่าวต่อไปว่า การจัดทำแนวปะการังเทียมครั้งนี้ใช้เวลาเตรียมการมากว่า 2 ปี มีการศึกษาในเรื่องผลกระทบที่จะมีต่อสภาพแวดล้อม ซึ่งจุดที่เหมาะสมในการจัดสร้าง ตลอดจนผลดีที่คนในชุมชนจะได้รับซึ่งนอกจากโครงการนี้จะเป็นการส่งเสริม อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวโดยการสร้างแหล่งดำน้ำใหม่ที่จะมีชื่อเสียงระดับโลก แล้ว ยังทำให้เป็นการศึกษาระบบนิเวศวิทยาทางทะเลในเรื่องของการสร้างที่อยู่ให้ ให้สัตว์น้ำและการลงเกาะของปะการัง
โดยคาดว่างบประมาณที่จะใช้ตลอดทั้งโครงการจะใช้งบทั้งสิ้นประมาณ 10,000,000 บาท ทั้งนี้ไม่รวมมูลค่าเครื่องบินที่ได้รับความอนุเคราะห์จากทางกองทัพอากาศ ทั้ง 10 เครื่อง คือ เครื่องบินลำเลียงแบบที่2(C-47)หรือดาโกต้าจำนวน 4 เครื่องและเฮลิคอปเตอร์แบบที่ 4ก หรือ เอส 58ที (S-58 T) จำนวน 6 เครื่อง
ส่วนทางด้าน สาระ ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการ บ.เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด กล่าวในฐานะผู้สนับสนุนหลัก ว่า เป็นความภาคภูมิใจที่ได้มีส่วนตอบแทนสังคมกับ “โครงการฝูงบินปะการังเพื่อทะเล”นับเป็นโครงการที่มีประโยชน์และตรงกับวัตถุ ประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อมที่บริษัทฯกำหนดไว้
ขั้นตอนการขนเครื่อง บินขึ้นรถด้วยความยากลำบาก
ซึ่งเดิมเมืองไทยประกันชีวิตเคยมีโครงการนำรถไปจัดวางในทะเลแล้ว แต่เมื่อเห็นโครงการนี้ทำให้เราได้เห็นว่าโครงการนี้เป็นโครงการที่เรา สามารถสานต่อความตั้งใจเดิมได้เร็วที่สุด
โดยบริษัทฯมีส่วนร่วมสนับสุนนโครงการเพื่อมีส่วนร่วมในการสร้างแนว ปะการังเทียมให้เป็นที่อยู่อาศัยของปลาและสิ่งมีชีวิตใต้น้ำ เกิดประโยชน์ต่อทั้งเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์โดยการประชาสัมพันธ์ให้เป็นแหล่งดำน้ำที่ มีชื่อเสียงระดับโลกสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกได้
ผลลัพธ์และความคาดหวัง
แน่นอนว่าการลงทุนครั้งนี้ต้องไม่สูญเปล่า สำหรับความคาดหวังที่คาดว่าจะได้จากโครงการนี้นั้น วิทเยนทร์กล่าวว่า ประการแรกคือ มีแหล่งท่องเที่ยวดำน้ำใหม่ที่มีชื่อเสียงระดับโลกเกิดขึ้น และมีนักท่องเที่ยวดำน้ำไปเยี่ยมชมเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 200 คนต่อวัน สร้างรายได้ทางตรงจากการท่องเที่ยวดำน้ำปีละกว่า 140 ล้านบาทต่อปี และฟื้นฟูระบบนิเวศวิทยาทางทะเลในบริเวณอ่าวบางเทา
พิธีบวงสรวงก่อน ลำเลียงซากเครื่อง ณ กองบิน2
นอกจากนี้ผู้เกี่ยวข้องยังหวังว่า ฝูงบินปะการังเพื่อทะเลนี้ จะกลายเป็นจุดดำน้ำที่มีชื่อเสียงระดับโลกและแบ่งเบาจำนวนนักท่องเที่ยวจาก จุดดำน้ำธรรมชาติลง ให้จุดดำน้ำธรรมชาติได้มีโอกาสพักฟื้น ดึงดูดนักดำน้ำจากทั่วโลกให้เข้ามาดำน้ำในประเทศไทย และที่สำคัญคือเป็นกรณีศึกษาถึงความสมบูรณ์ของระบบนิเวศวิทยา โดยศึกษาความชุกชุมของสัตว์น้ำที่เข้ามาอาศัยอยู่ในแนวปะการังเทียมอีกด้วย
“เราหวังว่าโครงการดีๆแบบนี้จะเกิดขึ้นอีก เครื่องบิน 10 เครื่อง ใช้พื้นที่ในการจมเท่ากับหนึ่งสนามฟุตบอล อาณาบริเวณนั้นผมเชื่อว่าไม่เกินหนึ่งปี ต้องมีแนวปะการังเกิดขึ้นแน่น่อน”วิทเยนทร์กล่าวทิ้งท้าย.
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
ดาโกต้า
ประวัติดาโกต้า และ ฮ.4ก
เครื่องบินปลดประจำการที่นำมาใช้ทำแนวปะการังได้รับการสนับสนุนจาก กองทัพอากาศประกอบไปด้วยเครื่องแบบ ดาโกต้า (Douglas C-47 Dakota Skytrain) จำนวน 4 เครื่อง และเฮลิคอปเตอร์ ฮ. 4ก (Sikorsky S-58T) จำนวน 6 เครื่อง
ดาโกต้า
:เครื่องบินดาโกต้ามีประวัติเริ่มต้นจากการริเริ่มในปี พ.ศ. 2476ของ สายการบินทีดับเบิลยูเอ ได้มอบให้บริษัทแมคโดนอล ดักลาส ซึ่งตั้งอยู่ที่รัฐนอร์ทดาโกต้า สหรัฐอเมริการออกแบบเครื่องบินโดยสารและต่อมาได้พัฒนาและปรับปรุงเครื่องบิน ดีซี – 2 โดยนำเครื่องหมายเลข X-14988 มาทำการทดลองบินเป็นเครื่องแรกเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2478 และได้รับการขนานนามว่า ดีซี – 3 (DAKOTA)
ดาโกต้า ได้รับความสำเร็จอย่างสูง มีผู้นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก และมียอดการผลิตมากที่สุดในโลกถึง 10,926 เครื่อง ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ดาโกต้าได้รับใช้กองทัพสหรัฐอเมริกาอย่างเต็มภาคภูมิ ทั้งด้านการทิ้งร่ม การขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิง การลากเครื่องร่อนและการขนส่งยุทธปัจจัยซึ่งดาโกต้าได้ตอบสนองภารกิจได้ อย่างดียิ่งเนื่องจากเป็นเครื่องบินลำเลียงชนิดเดียวที่มีอยู่มากในขณะนั้น แม้แต่ท่านอดีตประธานาธิบดีไอซ์เซนเฮาว์ แห่งสหรัฐอเมริกายังเคยกล่าวไว้ว่า “ส่วนหนึ่งที่ทำให้สหรัฐอเมริกาได้รับชัยชนะในสงครามโลกครั้งที่ 2 คือ เครื่องดาโกต้า”
ฮ.4ก
กองทัพอากาศไทยได้รับ ซี-47 ดาโกต้าเข้าประจำการในปี พ.ศ. 2490 ด้วยการช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา เป็นเครื่องบินลำเลียงแบบที่ 2 ของกองทัพอากาศไทย และเรียกว่า บ.ล. 2 ประจำการครั้งแรก ณ กองบินที่ 6 ฝูง 61 จัดเป็นเครื่องบินลำเลียงอเนกประสงค์ที่มีจำนวนสร้างมากที่สุดในประวัติ ศาสตร์การบิน เคยได้รับเกียรติเข้าร่วมกับสหประชาชาติปฏิบัติการในสงครามเกหลีและสงคราม เวียดนาม ยังใช้ในปฏิบัติการตามโครงการพระราชดำริอย่างการทำฝนเทียมอีกด้วย ปัจจุบันปลดประจำการไปแล้วเมื่อปีพ.ศ.2534
ฮ.4ก
: ถือกำเนิดขึ้นเมื่อพ.ศ.2520ทอ.ได้มอบให้บ.ไทยแอม จำกัด ทำการดัดแปลงฮ.4 (Sikorsky H-34)เป็นS-58Tหรือฮ.4ก จำนวน 18 เครื่อง และเพิ่มขึ้นในปีพ.ศ.2530อีก2เครื่อง โดยใช้เป็นเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงทางอากาศยุทธวิธีใช้ในการค้นหาและช่วยชีวิต เคยประจำการในฝูงบินกองบิน2
ที่มา http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9510000049523
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
บทความใหม่กว่า
บทความที่เก่ากว่า
หน้าแรก
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น