วันอังคารที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2553

ฝูงบินปะการังเทียมเพื่อโลกใต้ทะเล


รถบรรทุกเครื่องบิน ไปยังจ.ภูเก็ต
       “เครื่องบิน”ที่เหินเวหาถลาร่อนลมอยู่บนท้องฟ้า และ “ปะการัง” สัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลัง ที่อาศัยอยู่ใต้ท้องน้ำอันกว้างใหญ่ ทั้งสองสิ่งนี้ดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่ไม่มีทางบรรจบพบเจอกันได้ (ยกเว้นว่าเครื่องบินจะดิ่งตกสู่ท้องทะเลเอง) แต่ก็มีกลุ่มคนที่อาจหาญเอาเครื่องบินลำใหญ่ไปทิ้งทะเล ด้วยความตั้งใจและหวังว่าจะช่วยฟื้นฟูซ่อมแซมแนวปะการังที่เสียหายจากคลื่น ยักษ์สึนามิให้ฟื้นคืนกลับมา
    
       จมเครื่องบิน
    
       เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2551 ที่ผ่านมา ณ กองบิน2 จังหวัดลพบุรี ได้มีพิธีบวงสรวงและเคลื่อนย้ายเครื่องบินขึ้นรถโดยใช้รถเทรลเลอร์ในการขน ย้ายเครื่องบินจากจังหวัดลพบุรี เพื่อออกเดินทางมุ่งหน้าสู่ที่หมายที่ จังหวัดภูเก็ต เพื่อทำการจมเครื่องบินจำนวนทั้งสิ้น 10 เครื่อง ตามโครงการ “ฝูง บินปะการังเพื่อทะเล”
       

วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553

ปะการังเทียม


          เมื่อเอ่ยถึงคำว่า ปะการัง เชื่อแน่ว่าหลายคนคงเคยได้ยิน หรือเคยเห็นมาแล้วทั้งจากหนังสือเรียน นิตยสารท่องเที่ยว หรือรายการสารคดี ทางโทรทัศน์ ในขณะที่หลายคนอาจมีโอกาส ได้ดำน้ำลงไปสัมผัสอย่างใกล้ชิดที่ใต้ทะเลมาแล้ว
           แต่หากเอ่ยคำว่า ปะการังเทียม อาจทำให้หลายคนแสดงอาการเอา หัวคิ้วมาชนกันด้วย ความสงสัยและมีคำถาม ออกมาว่า มันเป็นยังไงเหรอ เจ้าปะการังเทียมเนี่ย? ต่างจากปะการังแท้อย่างไร

            ปะการังเทียมเป็นวัตกรรมอย่างหนึ่งที่ถูกคิดค้นขึ้นมาทดแทนปะการังแท้ที่กำลังถูกคุกคามอย่างหนัก หลายท่านอาจไม่ทราบว่าในความเป็นจริงประเทศไทยเป็นประเทศที่มีทรัพยากรทางทะเลที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดประเทศหนึ่ง
ในทวีปเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งปะการัง ที่มีอยู่ทั้งฝั่งอ่าวไทยและฝั่งทะเลด้านอันดามัน โดยแนวปะการังในอ่าวไทยส่วน
ใหญ่จะพบตามเกาะต่างๆ และบริเวณชายฝั่งบางแห่งตั้งแต่บริเวณหมู่เกาะสีชัง จังหวัดชลบุรีเรื่อยลงมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
บริเวณเกาะเต่า จังหวัดสุราษฏร์ธานี มีการก่อตัวของแนวปะการังระดับน้ำลึกประมาณ 15 เมตร

วันพุธที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2553

ภาพปะการังเขากวาง

ภาพปะการังเขากวาง


ปะการังฟอกขาว คืออะไร?

 ปะการังฟอกขาว คือ ปรากฏการณ์ปะการังเปลี่ยนสี
ปะการัง (coral) เป็นสัตว์ทะเลพวกหนึ่ง เคลื่อนที่เองไม่ได้ มีโครงร่างเป็นพวกหินปูน ปะการังจึงมองดูคล้ายสัตว์ตัวเล็กๆ หลายสีที่แทรกตัวอยู่ ตามหลืบหินซึ่งเกาะตัวรวม กันเป็นกลุ่มๆ หรือเป็น แนวคล้ายเทือกเขา รูปร่าง ของปะการังมีหลายแบบ เช่น ปะการังสมอง ปะการังเขากวาง ปะการัง ดอกเห็ด เป็นต้น บริเวณแนวปะการัง เป็นระบบนิเวศที่ค่อนข้างสมบูรณ์ในท้องทะเล เป็นแหล่งรวม ของพืชและสัตว์หลายชนิด เป็นที่ เพาะพันธุ์และอนุบาลสัตว์ทะเล วัยอ่อน รวมทั้งเป็นแหล่งหลบ ภัยจากศัตรู ท้องทะเลที่มีแนวปะการังที่สวยงามมักได้รับการส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ





ปรากฏการณ์ปะการังเปลี่ยนสี(coral bleaching) เมื่อไม่นานมานี้ระบบนิเวศแนวปะการังถูกกระทบกระเทือน เนื่องจากปะการังที่เคยมีสีสันสวยงามถูกทำให้มีสีซีดจางลง โดยในครั้งแรกเกิดปรากฏการร์นี้ขึ้นที่จังหวัดภูเก็ตใน พ.ศ. 2522 ซึ่ง ต่อมาได้ขยายไปอย่าง กว้างขวางใน พ.ศ. 2534 และปรากฏการณ์นี้ ได้แผ่ขยายไปมากขึ้นในปี พ.ศ. 2541 นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่าเป็นผลกระทบมาจากปรากฏการณ์ เอลนินโญ่ ซึ่งทำให้อุณหภูมิของ โลกและน้ำทะเล สูงขึ้น จนทำให้ปะการัง และสัตว์อื่นในบริเวณ แนวปะการังได้แก่ ดอกไม้ทะเล ถ้วย ทะเลและปะการังอ่อน เปลี่ยนจากสีต่างๆ เป็นสีขาวและค่อยๆ ตายไป จากการสำรวจพบว่าขณะนี้ปะการังในอ่าวไทยเปลี่ยนสีไปแล้วประมา ณ 60 - 80%
ตามปกติในเนื้อเยื่อชั้นใน (endodermes) ของปะการังมีสาหร่ายเซลล์เดียว เรียกว่า ซูซานเทลลี (Zooxanthellae) อาศัยอยู่ สาหร่าย ชนิดนี้จะสังเคราะห์แสงให้พลังงานแก่ปะการัง เป็นการอยู่ร่วมกันแบบภาวะพึ่งพา (Mutualism) ปรากฏการณ์ปะการังเปลี่ยนสีเกิดขึ้นเนื่องจากปะการังและสัตว์ทะเลอื่นๆ ในบริเวณนั้นได้ขับสาหร่ายซูซานเทลลีที่อาศัยอยู่ในเนื้อเยื่อออกไป จึงทำให้ปะการังและสัตว์ทะเลเหล่านั้นขาดพลังงานในการดำรงชีวิตจึงค่อยๆ ตายไป เหตุที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิของน้ำทะเลซึ่งเป็นผลมาจากปรากฏการณ์เอลนินโญ่ ที่ทำให้น้ำทะเลในฝั่งอันดามันเย็นลงแต่ทำให้น้ ำทะเลในอ่าวไทยมีอุณหภูมิสูงขึ้น นอกจากนี้นักวิทยาศาสตร์ยังพบว่ามีปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนสีของ ปะการังด้วย เช่น การเพิ่มขึ้นของปริมาณน้ำจืดที่ไหลลงสู่ทะเลในช่วงฤดูฝน จึงเป็นที่วิตกกันว่าปรากฏการณ์ลานินญา ที่กำลังจะเกิดขึ้น จะทำ ให้มีฝนตกมากกว่าปกติจะเป็นเหตุให้มีน้ำจืดไหลลงสู่ทะเลปริมาณมาก การทับถมของตะกอนลงไปในทะเลก็ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเจริญของปะการัง การใช้ทะเลจนทำให้เกิดมลพิษต่างๆ แสงจากดวงอาทิตย์ และการเกิดน้ำขึ้นน้ำลง ล้วนเป็นผลให้ปะการังเกิดการเปลี่ยนสี สิ่งที่น่าตระหนักสำหรับนักท่องเที่ยวและผู้ที่มีอาชีพเกี่ยวกับทะเลก็คือ ควรระ วังอย่าให้ท้องทะเลเกิดมลพิษจากวัสดุและสารเคมีต่าง เพราะน้ำทะเลที่สกปรกมีมลพิษจะทำลายปะการัง และไม่ส่งเสริมการทำลายปะการังจากแหล่งธรรมชาติ โดยการนำไปเป็นของที่ระลึก ควรสร้างจิตสำนึกร่วมกันในการอนุรักษ์แหล่งที่มีปะการังไว้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและเป็นแหล่งศึกษาของอนุชนรุ่นหลัง 

ที่มา http://www.school.net.th/library/snet4/may11/coral.htm