วันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ปรากฏการณ์แนวปะการังฟอกขาวคืออะไร

ปรากฏการณ์แนวปะการังฟอกขาวคืออะไร และเกิดขึ้นได้อย่างไร?
หากอธิบายจากสิ่งที่ตาเห็น ปรากฏการณ์แนวปะการังฟอกขาว หรือ Coral Reef Bleaching ก็คือ ปรากฏการณ์ที่ปะการังชนิดต่างๆ รวมถึง สิ่งมีชีวิตในแนวปะการัง อีกหลายชนิด มีสีซีดลง และหาก การฟอกขาวนั้น เป็นไปโดยสมบูรณ์ อย่างที่เรียกกันว่า Completely bleaching เราก็จะพบว่า ปะการังเหล่านั้น เหลือเพียงเนื้อเยื่อใสๆ เผยให้เห็นสีขาว ของหินปูน ซึ่งเป็น โครงสร้างของมัน
.....โดยทั่วไป ปะการัง และสิ่งมีชีวิตในแนวปะการัง ชนิดที่จะเกิด การฟอกขาวได้นั้น จะมีลักษณะ การดำรงชีวิต ที่ต่างไปจากสัตว์อื่นๆ กล่าวคือ มีความสัมพันธ์แบบ พึ่งพาอาศัยกับ ไดโนแฟลกเจลเลต (Dinoflagellate) หรือสาหร่ายเซลล์เดียวขนาดเล็ก ที่เรียกกันว่า "ซูแซนเทลลี"
ปะการังดอกกะหล่ำ (Pocillopora damicornis) ได้รับผลกระทบเร็วและมากกว่า ปะการังเขากวาง .....ซูแซนเทลลี จะอาศัยอยู่ในเนื้อเยื่อชั้นในของปะการัง (และสัตว์จำพวกที่ว่า) โดยเป็นตัวที่ ช่วยสร้างสีสันให้แก่ร่าง หรือ Host ที่มันอาศัย
.....นอกจากซูแซนเทลลี จะใช้รงควัตถุในตัวมัน สร้างสีสัน ที่ช่วยในการ ปกป้อง เนื้อเยื่อของสัตว์ ที่มันอาศัยอยู่ ไม่ให้ถูกแผดเผาโดย รังสี จากดวงอาทิตย์ และทำให้สัตว์เหล่านี้ ไม่จำเป็นต้องมีสีสันของมันเอง (หรือมีบ้างเล็กน้อย) แล้ว ซูแซนเทลลี ยังใช้รงควัตถุนี้ ในการ สังเคราะห์แสง สร้างอาหารให้แก่ตัวมัน และสัตว์ที่มันอาศัยร่วมอยู่ด้วย การที่มีซูแซนเทลลี อยู่คอยสร้างอาหารให้ จึงทำให้สัตว์เหล่านี้ โดยเฉพาะปะการัง ไม่ต้องหาอาหารเองมากนัก ทั้งยังได้ประโยชน์จาก ขบวนการสังเคราะห์แสง ที่สำคัญซูแซนเทลลี ยังช่วยให้ การสร้างหินปูน ในปะการัง หรือสัตว์ ที่สร้างเปลือกหินปูน เป็นไปได้รวดเร็วขึ้น ซึ่งเท่ากับ ช่วยให้แนวปะการัง เจริญเติบโต เร็วขึ้นด้วย 

วันอังคารที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2553

ฝูงบินปะการังเทียมเพื่อโลกใต้ทะเล


รถบรรทุกเครื่องบิน ไปยังจ.ภูเก็ต
       “เครื่องบิน”ที่เหินเวหาถลาร่อนลมอยู่บนท้องฟ้า และ “ปะการัง” สัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลัง ที่อาศัยอยู่ใต้ท้องน้ำอันกว้างใหญ่ ทั้งสองสิ่งนี้ดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่ไม่มีทางบรรจบพบเจอกันได้ (ยกเว้นว่าเครื่องบินจะดิ่งตกสู่ท้องทะเลเอง) แต่ก็มีกลุ่มคนที่อาจหาญเอาเครื่องบินลำใหญ่ไปทิ้งทะเล ด้วยความตั้งใจและหวังว่าจะช่วยฟื้นฟูซ่อมแซมแนวปะการังที่เสียหายจากคลื่น ยักษ์สึนามิให้ฟื้นคืนกลับมา
    
       จมเครื่องบิน
    
       เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2551 ที่ผ่านมา ณ กองบิน2 จังหวัดลพบุรี ได้มีพิธีบวงสรวงและเคลื่อนย้ายเครื่องบินขึ้นรถโดยใช้รถเทรลเลอร์ในการขน ย้ายเครื่องบินจากจังหวัดลพบุรี เพื่อออกเดินทางมุ่งหน้าสู่ที่หมายที่ จังหวัดภูเก็ต เพื่อทำการจมเครื่องบินจำนวนทั้งสิ้น 10 เครื่อง ตามโครงการ “ฝูง บินปะการังเพื่อทะเล”
       

วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553

ปะการังเทียม


          เมื่อเอ่ยถึงคำว่า ปะการัง เชื่อแน่ว่าหลายคนคงเคยได้ยิน หรือเคยเห็นมาแล้วทั้งจากหนังสือเรียน นิตยสารท่องเที่ยว หรือรายการสารคดี ทางโทรทัศน์ ในขณะที่หลายคนอาจมีโอกาส ได้ดำน้ำลงไปสัมผัสอย่างใกล้ชิดที่ใต้ทะเลมาแล้ว
           แต่หากเอ่ยคำว่า ปะการังเทียม อาจทำให้หลายคนแสดงอาการเอา หัวคิ้วมาชนกันด้วย ความสงสัยและมีคำถาม ออกมาว่า มันเป็นยังไงเหรอ เจ้าปะการังเทียมเนี่ย? ต่างจากปะการังแท้อย่างไร

            ปะการังเทียมเป็นวัตกรรมอย่างหนึ่งที่ถูกคิดค้นขึ้นมาทดแทนปะการังแท้ที่กำลังถูกคุกคามอย่างหนัก หลายท่านอาจไม่ทราบว่าในความเป็นจริงประเทศไทยเป็นประเทศที่มีทรัพยากรทางทะเลที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดประเทศหนึ่ง
ในทวีปเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งปะการัง ที่มีอยู่ทั้งฝั่งอ่าวไทยและฝั่งทะเลด้านอันดามัน โดยแนวปะการังในอ่าวไทยส่วน
ใหญ่จะพบตามเกาะต่างๆ และบริเวณชายฝั่งบางแห่งตั้งแต่บริเวณหมู่เกาะสีชัง จังหวัดชลบุรีเรื่อยลงมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
บริเวณเกาะเต่า จังหวัดสุราษฏร์ธานี มีการก่อตัวของแนวปะการังระดับน้ำลึกประมาณ 15 เมตร

วันพุธที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2553

ภาพปะการังเขากวาง

ภาพปะการังเขากวาง


ปะการังฟอกขาว คืออะไร?

 ปะการังฟอกขาว คือ ปรากฏการณ์ปะการังเปลี่ยนสี
ปะการัง (coral) เป็นสัตว์ทะเลพวกหนึ่ง เคลื่อนที่เองไม่ได้ มีโครงร่างเป็นพวกหินปูน ปะการังจึงมองดูคล้ายสัตว์ตัวเล็กๆ หลายสีที่แทรกตัวอยู่ ตามหลืบหินซึ่งเกาะตัวรวม กันเป็นกลุ่มๆ หรือเป็น แนวคล้ายเทือกเขา รูปร่าง ของปะการังมีหลายแบบ เช่น ปะการังสมอง ปะการังเขากวาง ปะการัง ดอกเห็ด เป็นต้น บริเวณแนวปะการัง เป็นระบบนิเวศที่ค่อนข้างสมบูรณ์ในท้องทะเล เป็นแหล่งรวม ของพืชและสัตว์หลายชนิด เป็นที่ เพาะพันธุ์และอนุบาลสัตว์ทะเล วัยอ่อน รวมทั้งเป็นแหล่งหลบ ภัยจากศัตรู ท้องทะเลที่มีแนวปะการังที่สวยงามมักได้รับการส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ





ปรากฏการณ์ปะการังเปลี่ยนสี(coral bleaching) เมื่อไม่นานมานี้ระบบนิเวศแนวปะการังถูกกระทบกระเทือน เนื่องจากปะการังที่เคยมีสีสันสวยงามถูกทำให้มีสีซีดจางลง โดยในครั้งแรกเกิดปรากฏการร์นี้ขึ้นที่จังหวัดภูเก็ตใน พ.ศ. 2522 ซึ่ง ต่อมาได้ขยายไปอย่าง กว้างขวางใน พ.ศ. 2534 และปรากฏการณ์นี้ ได้แผ่ขยายไปมากขึ้นในปี พ.ศ. 2541 นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่าเป็นผลกระทบมาจากปรากฏการณ์ เอลนินโญ่ ซึ่งทำให้อุณหภูมิของ โลกและน้ำทะเล สูงขึ้น จนทำให้ปะการัง และสัตว์อื่นในบริเวณ แนวปะการังได้แก่ ดอกไม้ทะเล ถ้วย ทะเลและปะการังอ่อน เปลี่ยนจากสีต่างๆ เป็นสีขาวและค่อยๆ ตายไป จากการสำรวจพบว่าขณะนี้ปะการังในอ่าวไทยเปลี่ยนสีไปแล้วประมา ณ 60 - 80%
ตามปกติในเนื้อเยื่อชั้นใน (endodermes) ของปะการังมีสาหร่ายเซลล์เดียว เรียกว่า ซูซานเทลลี (Zooxanthellae) อาศัยอยู่ สาหร่าย ชนิดนี้จะสังเคราะห์แสงให้พลังงานแก่ปะการัง เป็นการอยู่ร่วมกันแบบภาวะพึ่งพา (Mutualism) ปรากฏการณ์ปะการังเปลี่ยนสีเกิดขึ้นเนื่องจากปะการังและสัตว์ทะเลอื่นๆ ในบริเวณนั้นได้ขับสาหร่ายซูซานเทลลีที่อาศัยอยู่ในเนื้อเยื่อออกไป จึงทำให้ปะการังและสัตว์ทะเลเหล่านั้นขาดพลังงานในการดำรงชีวิตจึงค่อยๆ ตายไป เหตุที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิของน้ำทะเลซึ่งเป็นผลมาจากปรากฏการณ์เอลนินโญ่ ที่ทำให้น้ำทะเลในฝั่งอันดามันเย็นลงแต่ทำให้น้ ำทะเลในอ่าวไทยมีอุณหภูมิสูงขึ้น นอกจากนี้นักวิทยาศาสตร์ยังพบว่ามีปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนสีของ ปะการังด้วย เช่น การเพิ่มขึ้นของปริมาณน้ำจืดที่ไหลลงสู่ทะเลในช่วงฤดูฝน จึงเป็นที่วิตกกันว่าปรากฏการณ์ลานินญา ที่กำลังจะเกิดขึ้น จะทำ ให้มีฝนตกมากกว่าปกติจะเป็นเหตุให้มีน้ำจืดไหลลงสู่ทะเลปริมาณมาก การทับถมของตะกอนลงไปในทะเลก็ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเจริญของปะการัง การใช้ทะเลจนทำให้เกิดมลพิษต่างๆ แสงจากดวงอาทิตย์ และการเกิดน้ำขึ้นน้ำลง ล้วนเป็นผลให้ปะการังเกิดการเปลี่ยนสี สิ่งที่น่าตระหนักสำหรับนักท่องเที่ยวและผู้ที่มีอาชีพเกี่ยวกับทะเลก็คือ ควรระ วังอย่าให้ท้องทะเลเกิดมลพิษจากวัสดุและสารเคมีต่าง เพราะน้ำทะเลที่สกปรกมีมลพิษจะทำลายปะการัง และไม่ส่งเสริมการทำลายปะการังจากแหล่งธรรมชาติ โดยการนำไปเป็นของที่ระลึก ควรสร้างจิตสำนึกร่วมกันในการอนุรักษ์แหล่งที่มีปะการังไว้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและเป็นแหล่งศึกษาของอนุชนรุ่นหลัง 

ที่มา http://www.school.net.th/library/snet4/may11/coral.htm

วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การอนุรักษ์หอยมือเสือ

โครงการพ่อแม่อุปถัมภ์หอยมือเสือ 
The Giant Clam Conservation/Adoption Project is a new ocean conservation project of the Department of Fisheries.  The project accepts donations to support the ocean nursery and reintroduction of the juvenile giant clams.  
โครงการ พ่อแม่อุปถัมภ์หอยมือเสือ เป็นหนึ่งในโครงการอนุรักษ์สัตว์ทะเลของกรมประมง โดยเปิดโอกาสให้ผู้สนใจเข้าร่วมสนับสนุนการอนุรักษ์สัตว์ทะเลซึ่งได้จากการ เพาะขยายพันธุ์ เพื่อนำกลับคืนสู่ธรรมชาติในท้องทะเล โดยการร่วมบริจาคเงิน 

การเตรียมการอนุบาลหอยมือเสือ


The Prachuap Khirikhan Coastal Fisheries Research & Development Centre succeeded in breeding giant clams, Tridacna squamosa since 1993 and is responsible for this special Giant Clam Conservation/Adoption Project, for both Andaman and the Gulf of Thailand varieties.  The first transfer of giant clams for this adoption project was done on November 15-16, 2007.

เรื่องลับๆของปะการัง

ภาพปะการังของประเทศไทย จาก arterart.spaces.live
ปะการัง (Coral) เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กประเภทหนึ่งที่แตกต่างจากสิ่งมีชีวิตอื่นๆ  ใต้ท้องทะเล มีโครงสร้างเป็นหินปูนห่อหุ้มตัวอันอ่อนนุ่มของปะการังไว้เป็นชั้นนอก ซึ่งโครงสร้างหินปูนนี้เกิดจากชีวิตเล็กๆ ของปะการังได้สร้างขึ้นเป็นรูปทรงต่างๆ เป็นแผ่น เป็นก้อนหรือมีกิ่งก้าน  และ แผ่ขยายไปเรื่อยๆ จนกลายเป็นแนวปะการังอยู่ใต้ท้องทะเล ปะการังจะเติบโตได้ดีเฉพาะบริเวณที่น้ำทะเลมีอุณหภูมิตั้งแต่ 8-27 องศาเซลเซียส มีแสงแดดพอประมาณ น้ำไม่ขุ่น และมีความลึกของน้ำไม่เกินกว่า 50 เมตร มีลักษณะการดำรงชีพ ๒ แบบ คือ อยู่ตัวเดียว หรืออยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม สรุปแล้วก็คือว่าปะการังที่แท้เป็นสัตว์ไม่ใช่พืชอย่างที่หลายคนเข้าใจเลยสักนิด

ทั้งนี้ ขึ้นกับปัจจัยสภาพแวดล้อมที่สำคัญ ได้แก่ อุณหภูมิของน้ำ และแสงสว่าง โดยจะเจริญเติบโตได้ดีในบริเวณที่มีน้ำสะอาด สภาพท้องทะเลค่อนข้างแข็งหรือมีการเปลี่ยนแปลงน้อยความเค็มของน้ำค่อนข้าง สูง มีแสงสว่างมากพอควร อุณหภูมิที่เหมาะสมประมาณ ๒๐-๒๙ องศาเซลเซียส ก็ถืิอว่าอากาศกำลังดี (ใต้นํ้านะ ไม่ใช่บนดิน)

ปะการัง เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ บริเวณชายฝั่งทะเล เป็นที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์จำนวนมาก อีกทั้งเป็นแหล่งอาหารเพื่อการเจริญเติบโต เป็นแหล่งเพาะพันธุ์วางไข่และหลบภัย ปะการัง มีความสำคัญต่อระบบนิเวศทางทะเล การประมง และมีส่วนช่วยรักษาสภาพสมดุลธรรมชาติของชายฝั่ง ช่วยลดความรุนแรงของคลื่นที่กระทบต่อชายฝั่งความสวยงามของแนวปะการังช่วยใน ด้านพักผ่อนหย่อนใจและเป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวได้อย่าง